เขตต่างๆ ที่อาจะเป็นเหตุให้เสียการระลึกรู้ ของ ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา

ภาวะนี้เกิดขึ้นเนื่องจากความเสียหายในเขตสัมพันธ์ของคอร์เทกซ์สายตา. เขตสมองต่างๆ ด้านข้างของสมองกลีบท้ายทอยปรากฏว่า ตอบสนองต่อวัตถุประเภทต่างๆ มากมาย[10].

ภาวะบอดใบหน้า (คือไม่สามารถรู้จำใบหน้าได้) เกิดขึ้นจากความเสียหายของเขตรับรู้ใบหน้าในรอยนูนรูปกระสวย (fusiform face area) งานวิจัยที่ใช้การสร้างภาพโดยกิจแสดงให้เห็นว่า มีเขตเฉพาะบางเขตที่มีหน้าที่โดยเฉพาะเกี่ยวกับการรู้จำใบหน้า เรียกว่า "เขตรับรู้ใบหน้าในรอยนูนรูปกระสวย" ซึ่งอยู่ในรอยนูนรูปกระสวย (fusiform gyrus) ของสมองกลีบขมับ[10] แต่ว่า เขตนี้ไม่ได้รับรู้ใบหน้าอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรู้จำวัตถุที่บุคคลมีความชำนาญ[17]อื่นๆ ด้วย

เขตสายตาที่เรียกว่า extrastriate body area เริ่มทำงานด้วยการเห็นอวัยวะต่างๆ ของมนุษย์ที่มีอยู่ในรูปถ่าย ภาพเงา หรือ stick figure[18][10]

มีการค้นพบว่า เขตรู้สถานที่รอบฮิปโปแคมปัส (parahippocampal place area) ในคอร์เทกซ์รอบฮิปโปแคมปัส เริ่มทำงานเมื่อเห็นทัศนียภาพและสิ่งแวดล้อมต่างๆ[10] ภาวะเสียการระลึกรู้สีเหตุสมอง (cerebral achromatopsia) คือความไม่สามารถแยกแยะสีต่างๆ เกิดขึ้นเพราะความเสียหายต่อเขตสายตา V8 ของคอร์เทกซ์สายตาสัมพันธ์ (visual association cortex)[10]

คอร์เทกซ์สายตาในสมองซีกซ้ายดูเหมือนว่าจะมีบทบาทสำคัญในการรู้จำความหมายของวัตถุสามัญ[19]

ใกล้เคียง

ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก ภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเสียการระลึกรู้ ภาวะเหล็กเกิน ภาวะเลือดจาง ภาวะเงินฝืด ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน ภาวะเพศกำกวม ภาวะเชิงการนับ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา http://jnnp.bmj.com/content/49/11/1233.full.pdf http://jnnp.bmj.com/content/49/4/451.full.pdf //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1028777 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1029070 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2170224 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/1374953 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16648452 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/19478035 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/1986306 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/3701356